Pages

Saturday, August 1, 2020

ถึงจะเป็นแค่โปรตีนเล็กๆ แต่ทำงานใหญ่.... Humanin อายุยืน ไม่มีโรค - ไทยรัฐ

miniselebrity.blogspot.com

เป็นที่ทราบกันมานานพอสมควรแล้ว ว่าการกำหนดความยืดหยุ่นความแข็งแรง การปรับสภาพเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นของสมองหรือเซลล์ต่างๆนั้น มีรากฐานจากการทำงานของตัวโรงพลังงานไมโทคอนเดรีย

และเป็นที่มาว่าถ้าทำงานโดยใช้พลังงานประหยัดมัธยัสถ์ และถ้ามีของเสียก็สามารถรีไซเคิล หรือถ้ากลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ก็ต้องทำการระบายทิ้งอย่างหมดจด โดยกันไม่ให้มีการอักเสบใดๆเกิดขึ้นที่เกิดจากการระบาย หรือขจัดของเสียนั้นๆ

บทความรายงานในวารสาร Ageing วันที่ 23 เดือนมิถุนายน ปี 2020 บรรยายถึงบทบาทของโปรตีนจิ๋ว ชื่อ humanin ที่สร้างในไมโทคอนเดรีย ถึงคุณประโยชน์ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้สุขภาพดีเท่านั้น แต่จะยังเกี่ยวพันกับการกำหนดให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ทั้งในมนุษย์และในสัตว์ ทั้งนี้ โดยที่ถ้ามีระดับของโปรตีนจิ๋วนี้สูงยังจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางสมองเสื่อมต่างๆ เช่นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย

คณะที่ทำการศึกษาอยู่ที่ USC Leonard Davis School of Gerontology ได้วิเคราะห์ผลที่ได้ทั้งจากสัตว์ทดลองไปจนกระทั่งถึงมนุษย์ โดยตั้งเป้าที่จะหาความสัมพันธ์ของโปรตีนตัวนี้ว่าการที่มีระดับสูงจะช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นได้หรือไม่ ทั้งนี้โดยที่ humanin เอง ก็เป็นที่จับตามานานแล้วว่ามีประโยชน์

และหน้าที่ที่สำคัญคือน่าจะสามารถ ป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความชราภาพได้

ทั้งนี้โดยที่โปรตีนตัวนี้ไม่ได้พบในไมโทคอนเดรียของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังมีในสัตว์ทุกชนิดรวมกระทั่งถึงไส้เดือนและหนู ทั้งนี้ จากการที่สามารถพบได้ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงน่าจะเป็นตัวหนึ่งที่สำคัญในการกำหนดการใช้พลังงาน และรักษาสุขภาพรวมทั้งอายุ และมีบทบาทในการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

การศึกษาในตัวตุ่นหนูไร้ขน (naked mole rat) หรือที่รู้จักกันในชื่อลูกสุนัขทราย ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง และเป็นที่พิศวงงงงวยว่าทำไมมีชีวิตยาวนานถึง 30 ปี และพบว่าระดับของ humanin จะสูงลอยอยู่ตลอด โดยค่อยๆลดลงทีละน้อย

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูธรรมดาจะมีระดับของโปรตีนลดลงอย่างรวดเร็วถึง 40% ในช่วง 18 เดือนแรก เช่นเดียวกับในกรณีของลิงวอก (rhesus macaque) ระดับของโปรตีนตัวนี้ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วช่วงอายุ 19 ถึง 25 ปี

สำหรับในมนุษย์นั้นปรากฏว่า เมื่อเอาลูกหลานของคนที่มีอายุยืนเกิน 100 ปีจำนวน 18 คนมาเปรียบเทียบกับลูกของคนที่มีอายุตามปกติ 19 คนโปรตีนในกลุ่มแรกมีระดับสูงกว่ามากและมีความเป็นไปได้สูงมากที่ลูกหลานของคนอายุยืนเหล่านี้จะเจริญรอยตาม

ในการศึกษาในตัวหนอนและหนูโดยการปรับแต่งยีนให้ผลิตโปรตีน humanin พบว่าเป็นผลทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ข้อเสียก็คือกลับมีลูกน้อยลงมาก เหมือนอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบรูปแบบอย่างเดียวกันในครอบครัวคนที่อายุยืนมากๆ

ทั้งนี้ อาจจะเป็นไปได้ที่ธรรมชาติมีการที่ต้องแลกกันระหว่างอายุยืนขึ้นกับการเจริญพันธุ์ นัยว่าเป็นการสร้างสมดุลในการประหยัดพลังงาน

โปรตีน humanin ยังน่าที่จะมีส่วนเกี่ยวพันที่มีประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการที่ยืดชีวิต

ทั้งนี้ การที่มีระดับต่ำอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ และยังทำให้กลไกการต้านทานต่อมลพิษต่างๆนั้นถดถอยลงไปด้วย

ระดับโปรตีนในน้ำไขสันหลังจากผู้ป่วยที่มีสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จะต่ำกว่าคนปกติมาก และในเด็กแรกเกิดเมื่อนำเลือดสายสะดือมาวิเคราะห์จะพบว่าระดับของโปรตีนที่สูงจะมีความสัมพันธ์หรือไปด้วยกันกับจำนวนของยีนไมโทคอนเดรีย (mitochon-drial DNA copy) ที่อยู่ในแต่ละเซลล์

ระดับของโปรตีนมีความสัมพันธ์ผกผันกับความเสี่ยงของการเกิด โรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคไต และโรคเส้นเลือดหัวใจ และการที่จำนวนของยีนไมโทคอนเดรียที่ลดลง

จากผลของการศึกษาทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำโปรตีนนี้ไปใช้ในการรักษา โดยที่อาจจะร่วมกับโปรตีนจากไมโทคอนเดรียอีกตัว คือ MOT-c ซึ่งทำงานในการเชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างตัวไมโทคอนเดรียและนิวเคลียสของเซลล์ คล้ายกับผลที่ได้จากการออกกำลัง

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวของโปรตีนเหล่านี้ ในอนาคตอันใกล้อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการนำมาใช้ในการเยียวยารักษาโรคต่างๆ หรือทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นโดยมีโรคภัยน้อยลง

แต่กว่าที่จะถึงขั้นนั้นเราก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยและสุขภาพดีด้วยการประพฤติปฏิบัติตนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่ทำให้เกิดความผ่องใส เลือกอาหารการกินที่ไม่เบียดเบียน ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ยึดผัก ผลไม้ กากใยเป็นหลัก

เหล่านี้ก็มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานในมนุษย์เช่นกันว่าทำให้มีชีวิตที่ดีและยืนยาวได้.

หมอดื้อ

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"เล็ก" - Google News
August 02, 2020 at 05:07AM
https://ift.tt/33gH1cF

ถึงจะเป็นแค่โปรตีนเล็กๆ แต่ทำงานใหญ่.... Humanin อายุยืน ไม่มีโรค - ไทยรัฐ
"เล็ก" - Google News
https://ift.tt/3eDvcQu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment