Pages

Saturday, July 11, 2020

พระรอด พิมพ์เล็ก องค์นี้หายาก ดูงามพร้อมทั้งฟอร์มทรงพิมพ์พระและเนื้อมวลสาร - ไทยรัฐ

miniselebrity.blogspot.com

ต่างจากปัจจุบันที่ให้ความสำคัญ กับ พระแท้ พระสวย มาก่อน เรื่อง พิมพ์ว่ากันทีหลัง เพราะ พระแท้ พระสวย พิมพ์รอง มีคุณค่าและราคาค่าสูงกว่าพระพิมพ์เหนือที่สวยน้อย ที่สำคัญหายากพอกันทุกพิมพ์อย่างองค์นี้ ของ เสี่ยต้อม พระสิงห์ เป็น พระพิมพ์เล็ก ที่แท้ดูง่ายงามพร้อมทั้งฟอร์มทรง พิมพ์พระ และเนื้อมวลสาร——แบบนี้ยังไงก็เหนือกว่าพระพิมพ์ใหญ่สภาพลบเลือนแน่นอน ขอบอก

พระพิมพ์ ๘ ชั้นแขนหักศอก หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร ของโอ๋ พระรามเก้า.

ต่อด้วย พระพิมพ์ ๘ ชั้น แขนหักศอก หลวงปู่ภู วัดอินทร์ แขวงบางขุนพรหม กทม. พระอมตเถราจารย์ ผู้มีประวัติการแสวงหาความรู้ทั้งปริยัติ ปริธรรม พุทธาคม ไสยเวท อย่างลึกล้ำพิสดาร

ด้วยการออกเดินเท้า ธุดงค์ จากวัดท่าแค จ.ตาก บ้านเกิด เมื่ออายุ ๒๓ ปี เพื่อแสวงหาสรรพวิชาและได้อยู่จำพรรษาหลายวัดในกรุงเทพฯ

จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๒ จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดอินทรวิหาร ถึงปี พ.ศ.๒๔๓๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูธรรมานุกูล อยู่ถึงวันที่ ๖ พ.ค.๒๔๗๖ จึงถึงมรณภาพ รวมสิริอายุ ๑๐๔ ปี

ตลอดอายุที่ยืนยาวท่านได้มีเมตตาใช้วิชาพุทธาคมช่วยเหลือสาธุชนอย่างเสมอหน้า ดังครั้งเกิดโรคระบาด ปีระกาห่าใหญ่ มีคนติดโรคล้มตายนับพัน ญาติมิตรเศร้าโศกทุกข์ตรมทั่วพระนคร ศพกองพะเนินท่วมวัดสระเกศ

หลวงปู่ภู ท่านเกิดเวทนา ไปเดินสำรวจพร้อมลูกศิษย์ เอาไม้เปิดดู ถ้ารูทวารเปิดอยู่ให้แยกนำศพออกมารักษาด้วยยาสมุนไพร ช่วยชีวิตคนให้ฟื้นชีพได้นับสิบราย

ด้านวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมากคือ ตะกรุดไม้ครู หรือ ตะกรุดนิ้วเพชรพระอิศวร ที่ท่านใช้ไม้ไผ่ที่ใช้จิ้มศพ มาลงอักขระ อุดผงปิดหัวท้าย เป็นของขลังที่มีอานุภาพทางคุ้มครองป้องภัย เป็นมหาอำนาจชี้เป็นชี้ตาย มีผู้แสวงหากันมาก แต่ยากที่จะได้ครอบครอง นัยว่าของจริงของแท้ที่ทำด้วยมือท่านมีจำนวนเพียงหลักสิบต้นๆ

ตะกรุดดั้นเมฆ เป็นเครื่องรางอีกชนิด ที่ท่านสร้างให้เฉพาะศิษย์ใกล้ชิด ด้วยวิธีสร้างที่มีเคล็ดวิชาว่า ต้องนั่งเพ่งพิจารณาก้อนเมฆบนฟ้า วิ่งชนกันครั้งหนึ่ง จึงภาวนาคาถาลงอักขระได้ตัวหนึ่ง กว่าจะลงอักขระครบสูตร บางวันท่านทำสำเร็จเพียง ๑ ดอก

ศิษย์ที่ได้ไว้ เห็นเป็นของวิเศษ ต่างหวงแหนไว้มอบเป็นมรดกประจำตระกูล ยากที่จะหลุดถึงมือคนนอก

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างออกแพร่หลายมีเพียง พระพิมพ์ เนื้อผงพุทธคุณ ตำรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มีมากมายหลายรูปแบบหลายขนาด

อาทิ ๑.พิมพ์แซยิด แขนหักศอก ๒.พิมพ์ ๓ ชั้นก้างปลา ๓.พิมพ์ ๗ ชั้นหูติ่ง ๔.พิมพ์ฐานคู่ขอบกระจก ๕.พิมพ์แปดชั้นแขนกลม ๖. พิมพ์ไสยาสน์ ๗.พิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยม ๘.พิมพ์พระปิดตาสามเหลี่ยม และอื่นๆล้วนได้รับความนิยมสูง

โดยเฉพาะพระรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ จะได้รับความนิยมแสวงหาไปใช้แทน พระสมเด็จ ของสมเด็จฯโต ด้วยเชื่อว่าในฐานะศิษย์ผู้ใกล้ชิด ครั้งสมเด็จฯโต ท่านเดินทางมาพำนักที่วัดอินทร์ เพื่อดูแล การสร้าง องค์หลวงพ่อโต เมื่อท่านสร้างพระ ก็ย่อมได้รับผงพุทธคุณมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระ

อย่างองค์นี้ ของ เสี่ยโอ๋ พระรามเก้า ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมหลักแถวหน้า ที่มีความงามพร้อมแบบเพอร์เฟกต์ ทั้งฟอร์มองค์ พิมพ์พระ เนื้อมวลสาร ที่ส่องเห็นก้อนผงพุทธคุณอยู่ทั่วองค์

พระปิดตามหายันต์ พิมพ์เศียรโต หลวงพ่อทับ วัดทอง ของอิทธิ ชวลิตธำรง.

รายการต่อไป คือ พระปิดตามหายันต์ พิมพ์เศียรโต เนื้อสัมฤทธิ์ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (หลวงพ่อทับ อินทโชติ) วัดสุวรรณาราม (วัดทอง) เขตบางกอกน้อย กทม. เจ้าอาวาสองค์ที่ ๙ ผู้สร้างชื่อเสียงขึ้นชื่อลือชา

เพราะเป็นต้นตำรับวิชาสร้าง พระปิดตา ที่ออกแบบจัดวางอักขระเลขยันต์ ประกอบเป็นองค์พระขึ้นหุ่น เทหล่อโบราณ ด้วยเนื้อโลหะผสมสัมฤทธิ์ที่มีสีแตกต่าง

คือ ๑.สัมฤทธิ์ดำ คือสัมฤทธิ์เดช ๒.เนื้อขาวสัมฤทธิ์โชติ ๓.สีทอง สัมฤทธิ์ศักดิ์ ทุกชนิดผิวเนื้อมีน้ำมีนวล และยังพบที่มีเนื้อเป็น เมฆพัตร เนื้อชินตะกั่ว และ เนื้อผงพุทธคุณคลุกรัก

พิมพ์พระมีมากมายหลายสิบแบบ เพราะเป็น พระขึ้นหุ่น ใช้แกนองค์รูปทรงเดียวกัน ติดเส้นยันต์ ทีละองค์ จึงเกิดความแตกต่าง ไม่เหมือนกันซักองค์

แยกพิมพ์ตามฟอร์มองค์ที่คล้ายกันได้เป็น ๑.พิมพ์นั่งบัว ๒.พิมพ์เศียรโต ๓.พิมพ์เศียรบายศรี ๔.พิมพ์ยันต์น่อง ๕.พิมพ์ตุ๊กตา องค์นี้เป็นของ เสี่ยเพชร-อิทธิ ชวลิตธำรง เป็น พิมพ์เศียรโต เนื้อสัมฤทธิ์เดช สภาพสมบูรณ์สวยเดิม ราคาค่าความนิยม ฟังว่าขึ้น หลักล้าน แล้ว ทุกพิมพ์

พระปิดตา พิมพ์ชะลูด เนื้อผงพุทธคุณ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ของเสี่ยเพชร.

อีกสำนัก เป็น พระปิดตา พิมพ์ชะลูด เนื้อผงคลุกรัก พลวงปู่ไข่ อินทโชติ วัดบพิตรภิมุข เขตจักรวรรดิ กทม. ศิษย์สายตรงหลวงจีน วัดท่าลาดเหนือ

ท่านสร้างพระปิดตาที่มีอานุภาพเป็นเอกด้านเมตตา ค้าขาย อุดมโชค อุดมลาภ จนเป็นพระประจำตัว ของเจ้าสัวสำเพ็งทุกตระกูล ราคาค่าความนิยมสูงถึงหลัก ๑๐ ล้าน

จึงได้รับการคัดเลือกเป็นน้องสุดท้อง องค์สุดท้าย ในทำเนียบ พระปิดตาเนื้อผงพุทธคุณ ชุดเบญจภาคี ที่มี ๑.พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ เนื้อผงคลุกรัก หลวงพ่อแก้ว วัด เครือวัลย์ จ.ชลบุรี ๒.พระปิดตา พิมพ์ชะลูดใหญ่ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ๓.พระปิดตา พิมพ์แข้งหมอนใหญ่ หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ จ.ฉะเชิงเทรา ๔.พระปิดตา พิมพ์ชะลูดใหญ่ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ของศิริพงษ์ วรอภิญญาภรณ์.

และ ๕.พระปิดตา พิมพ์ชะลูดใหญ่ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ที่มีสร้างไว้เพียง พิมพ์เดียว แต่มีความแตกต่างกันที่การตัดขอบข้าง ทำให้มีขนาดแตกต่าง เป็น ๑.ขนาดใหญ่ ตัดขอบข้างเหลือเนื้อมาก ๒.ขนาดกลาง ตัดขอบข้างเหลือเนื้อพอควร ๓.ขนาดเล็ก ตัดขอบข้างชิดองค์พระ

ทุกขนาดทุกองค์ ด้านหลังจะมีเนื้ออูมนูน ส่วนใหญ่ มีลายมือจารอักขระ ยันต์องค์พระ อย่างองค์นี้ ของ เสี่ยศิริพงษ์ วรอภิญญาภรณ์ ที่ถือเป็นจุดชี้ชัด ตัดสิน ความเป็นพระแท้ที่ซื้อขายได้สบายใจ

วันนี้ชุมนุมพระปิดตา เพราะอีกองค์เป็น พระปิดตา เนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์ชะลูด หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม (หนองบัว) อ.หนองบัว จ.กาญจนบุรี พระอมตะเกจิอาจารย์ผู้ได้ชื่อเป็นปรมาจารย์ด้านวิชาพุทธาคม เทียบได้กับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ประวัติท่าน กำเนิดเป็นชาว ต.วังด้ง จ.กาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๙ เมื่อวัยหนุ่ม ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพล่องเรือ นำไม้ไผ่ไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง ลักษณะนิสัยเป็นคนใจนักเลงมีพวกมาก พ่อแม่ก็เป็นห่วง

เมื่ออายุครบอุปสมบท จึงพาไปบวชเป็นสามเณร ฝากเรียนอยู่กับ พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ อยู่ ๒ ปี จึงได้บวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน เรียนภาษาบาลี พระธรรมคัมภีร์ รวมถึงวิชาพุทธาคม

พอมีพื้นฐานดีแล้ว พระอาจารย์รอด จึงส่งท่านไปเรียนสรรพวิชาต่อยอดกับพระเกจิฯ ผู้ทรงคุณวิเศษ มีชื่อเสียงของเมืองสมุทรสงครามยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อกลัด วัดบางพรหม หลวงพ่อพึ่ง วัดปากสมุทร หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ พระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย ท่านก็มุมานะเรียนสำเร็จ

แล้วยังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่กลิ่น วัดหนองบัว ซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณปรากฏแพร่หลาย เพราะท่านมี วิชาล่องหนกำบังกาย แหวกน้ำ ดำดินได้ ดั่งผู้วิเศษ จน หลวงปู่ศุข วัดปากคลอง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ยังมาเรียนวิชากับท่าน

หลวงปู่ยิ้ม อยู่เรียนวิชาถึงปี พ.ศ.๒๔๑๘ หลวงปู่กลิ่น มรณภาพ ชาวบ้านเห็นท่านเป็นศิษย์เอก จึงนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสด้วยความศรัทธาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่านปกครองวัดด้วยเมตตาธรรม ใช้วิชาพุทธาคมช่วยเหลือชาวบ้าน อย่างเสมอภาค ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระผู้มีวิชาอาคมเข้มขลัง

ตลอดอายุท่านสร้างพระเครื่องของขลังไว้พอสมควร ที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมสูงสุดคือ พระปิดตา เนื้อผงพุทธคุณ ที่แบบ พิมพ์ฝีมือชาวบ้าน ไม่งดงามนัก แต่ความเข้มขลังด้านเมตตามหานิยม คุ้มครองป้องกันภัย ไม่เป็นสองรองใคร

โดยมีพิมพ์พระแยกเล่นเป็นมาตรฐานรวม ๔ พิมพ์คือ ๑.พิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์ชะลูดใหญ่ ๒.พิมพ์พระสังกัจจายน์ หรือพิมพ์พุงป่อง หรือพิมพ์อุ้มท้อง ๓.พิมพ์แข้งซ้อน ๔.พิมพ์โบราณ

แต่ละพิมพ์มีเนื้อมวลสารต่างกัน คือ พิมพ์ชะลูด กับ พิมพ์พระสังกัจจายน์ จะมีเนื้อสีออกเหลืองอมน้ำตาล มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ และก็มีที่เป็นเนื้อสีเทา ที่เรียกกันว่าเนื้อขี้เป็ด ที่มีส่วนผสมของผงใบลานและใช้รังหมาร่าเป็นตัวประสาน

ส่วน พิมพ์แข้งซ้อน เป็นเนื้อสีขาวขุ่นอมเหลือง อมเทา ส่วนใหญ่เป็นพระจุ่มรัก (ดำ) พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม องค์งามๆ สภาพเรียบร้อย แบบองค์นี้ของ เสี่ยเพชร (อีกแล้ว)

พระปิดตา เนื้อผง คลุกรัก พิมพ์แข้งหมอนเล็ก หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ของพูลลาภ ฟองเจริญ.

ต่อด้วย พระปิดตา พิมพ์แข้งหมอนเล็ก หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา พระปรมาจารย์ ผู้ได้รับการยกย่องยอมรับว่าเป็นเจ้าตำรับวิชาสร้าง พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก แห่งภาคตะวันออก

ไม่ว่าจะเป็น พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระปิดตา หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ล้วนเป็นศิษย์ ผู้สืบทอดวิชาสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน ที่สร้าง พระปิดตา พิมพ์แข้งหมอนใหญ่ และอีกหลายพิมพ์ มีชื่อเสียงปรากฏแพร่หลายมาก่อน

อย่างองค์นี้ของ พูลลาภ ฟองเจริญ เป็น พระพิมพ์แข้งหมอนเล็ก ที่ได้รับความนิยมเป็นมาตรฐาน แม้ราคาค่าความนิยมจะเป็นรอง แต่ก็หายากไม่แพ้ พระพิมพ์ใหญ่ ยิ่งเป็นองค์งามๆ สภาพสมบูรณ์เยี่ยมแบบนี้ มีคนอยากได้เยอะ

เหรียญรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๘๒ บล็อกนิยม สามชาย เนื้อทองแดง ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง ของพงศ์พันธุ์ รัศมีนนทกุล.

ต่อด้วย เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๘๒ บล็อกนิยมสามชาย เนื้อทองแดงครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง อ.เมือง จ.ลำพูน เหรียญนี้ เป็นเหรียญสภาพผ่านใช้ มีริ้วรอยสัมผัสผิวเนื้อเหรียญ ทั้งหน้าหลัง แต่ก็เป็นเพียงบางเบา ดูเข้มขลังมีพลัง ความศักดิ์สิทธิ์สูง พูดจาภาษา สายตรงเหรียญได้ว่ายิ่งดูยิ่งมัน เป็นเหรียญของ เสี่ยพงศ์พันธุ์ รัศมีนนทกุล

เขี้ยวเสือแกะ หลวงพ่อ ปาน วัดคลองด่าน ของอดิศร รัศมีนนทกุล.

สุดท้าย เป็น เสือเขี้ยวแกะ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ของ เสี่ยอดิศร รัศมีนนทกุล

เป็นฝีมือแกะ ที่ได้รับความนิยม มีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย แต่คงฟอร์ม ทรงองค์รวมของรูปลักษณ์ไว้ในแบบมาตรฐาน เนื้อเขี้ยวสีเหลืองฉ่ำ มีแสงเงาบอกถึงความเก่า ชี้ชัดตัดสินเป็นเสือหลวงพ่อปานขนานแท้ ด้วยลายมือจารอักขระรอบองค์ที่ถูกต้องครบสูตร

ลากันด้วยเรื่องปิดท้ายของ “เสี่ยโย” เจ้าของฟาร์มกุ้ง ซึ่งเป็นผู้นิยมชมชอบพระเครื่อง โดยซื้อจาก “เซียนพระ” ขาประจำอยู่คนเดียว มีพระอะไรมาเสนอขายถูกใจเป็นซื้อ ไม่เกี่ยงราคา

เพราะเชื่อตามคำเชียร์ของเซียนว่า พระดีมีแต่ราคาสูงขึ้นตามวันเวลา เก็บไว้เป็นมรดกลูกหลานไม่ผิดหวัง จึงซื้อเข้าอยู่อย่างเดียว ไม่ยอมขายออก ๕ ปีเต็มๆ

วันหนึ่งมีเวลาว่างเอาพระมาส่อง พร้อมเปิดบัญชีดูจำนวนเงินที่ซื้อพระไปรวมเกือบ ๕ ล้าน ก็ภูมิใจว่ามีพระเยอะ รุ่งขึ้น เซียนพระไปหาที่บ้าน เอาพระสมเด็จมาเสนอขายในราคา ๕ ล้าน ดูแล้วก็ชอบ ฟังเสียงเชียร์ก็อยากได้ แต่ยังไม่กล้าตัดสินใจ เพราะยังไม่เคยซื้อพระราคาสูงขนาดนี้ เซียนพระ ซึ่งจำเป็นต้องหาเงินไปจ่ายค่าพระที่ซื้อมาฟลุกในราคา ๑ ล้าน จึงยื่นข้อเสนอ ให้ผ่อนได้รายเดือน ๕ งวด งวดแรกจ่ายสด ๑ ล้านวันนี้ แล้วเอาพระไว้เลย ที่เหลือเดือนหน้ามารับเช็ครายเดือน ๔ ใบ

เสี่ยโย ฟังเงื่อนไขก็ตกลงโอเค เขียนเช็ค ๑ ล้าน จ่ายทันทีแล้วรับพระไว้ พอเซียนพระกลับไป ก็นั่งส่องพระด้วยความภูมิใจ เวลาผ่านไป ๒ สัปดาห์ ได้ข่าว เซียนพระเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ก็ไปร่วมงานสวด ก็ได้รู้จักเซียนพระชื่อดังในงาน พูดคุยกันถูกคอ ก็อยากอวดพระที่มีอยู่ ก็นัดกันไปเจอที่ร้านบนห้างฯ เอาพระที่มีอยู่ ยกเว้น “พระสมเด็จ” ให้ดู เซียนดังดูแล้วยิ้ม บอกพระแท้ พระดีทั้งหมด แต่ราคาที่ซื้อแพงไปเยอะ เพราะเป็นราคาอนาคต เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.

สีกาอ่าง

Let's block ads! (Why?)



"เล็ก" - Google News
July 12, 2020 at 05:08AM
https://ift.tt/3gNTkko

พระรอด พิมพ์เล็ก องค์นี้หายาก ดูงามพร้อมทั้งฟอร์มทรงพิมพ์พระและเนื้อมวลสาร - ไทยรัฐ
"เล็ก" - Google News
https://ift.tt/3eDvcQu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment