Credit : University of Tsukuba and Museum of Nature and Human Activities, Hyogo
จากการสำรวจเหมืองแห่งหนึ่งในเมืองทัมบะ จังหวัดเฮียวโงะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ในปี 2558 นำโดยทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยสึกูบะ ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลไข่ขนาดเล็กปริศนา ซึ่งมีความยาวเพียง 4.5 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ฟอสซิลไข่ฝังอยู่ในตะกอนเก่าแก่จากต้นยุคครีเตเชียส ระบุว่ามีอายุประมาณ 110 ล้านปี
ไข่ดังกล่าวได้รับการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสึกูบะ พิพิธภัณฑ์มนุษย์และธรรมชาติในจังหวัดเฮียวโงะ ในญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยคาลการีในแคนาดา ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ทีมได้ไขความกระจ่างว่านี่คือฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อกลุ่มเธอโรพอด (Theropods) และยังเป็นไข่ไดโนเสาร์ที่เล็กที่สุดในโลก นั่นหมายความว่าเจ้าของไข่เล็กจิ๋วนี้ น่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวเล็กหรือแคระ นักบรรพชีวินวิทยาตั้งชื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้ว่า Himeoolithus murakamii
ทั้งนี้ การขุดค้นช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2562 ในบริเวณเดียวกันนั้นมีการค้นพบฟอสซิลไข่ 4 ฟอง และมีชิ้นส่วนของเปลือกไข่และโครงกระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอีก 1,300 ชิ้น จึงเชื่อกันว่าในพื้นที่ของเมืองทัมบะน่าจะมีไดโนเสาร์แคระหลายชนิดที่ยังไม่ได้ขุดพบ และซากฟอสซิลเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้นว่าเอื้อต่อการอาศัยอยู่ของไดโนเสาร์หลากหลายชนิดได้อย่างไร.
อ่านเพิ่มเติม...
"เล็ก" - Google News
July 02, 2020 at 12:01PM
https://ift.tt/2Zwz7s6
ค้นพบไข่ไดโนเสาร์ที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น - ไทยรัฐ
"เล็ก" - Google News
https://ift.tt/3eDvcQu
Home To Blog
No comments:
Post a Comment